วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้

ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ




ประวัติความเป็นมา
          
           ในปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ม.ล. ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่า การ กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ได้อนุมัติให้ กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ สร้างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และหอดูดาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญ  มีประโยชน์  อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ ตลอดจน เป็นแหล่งที่เยาวชนสามารถไปชุมนุมหาความรู้ได้ง่าย เยาวชนจะได้เรียนจากของจำลองเหมือนของจริงทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและรวดเร็วกว่าการสอนด้วยปากเปล่า  ทั้งก่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความมีเหตุผลและความเพลิดเพลิน ด้วย กระทรวงศึกษาธิการได้มอบให้กองอุปกรณ์การศึกษา กรมวิชาการเป็นเจ้าของในการก่อสร้างและดำเนินการ ต่อไป
        คณะรัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 30 มกราคม  พ.ศ. 2504 โดยมีห้างบีกริม แอนโก กรุงเทพ จำกัด และตัวแทน บริษัท คาร์ลไซซ์ ในสหพันธรัฐเยอรมันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จนเรียบร้อย
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพและทอดพระเนตรการแสดงทางท้องฟ้า วันที่ 18 สิงหาคม 2507 ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ เปิดแสดงให้บริการแก่ประชาชน ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เป็นต้นมา

สถานที่ตั้ง     928  ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

การเดินทาง   รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงสถานีเอกมัย / รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 25, 38, 40, 72, 501, 511, 513, 508

ลักษณะการจัดแสดง

             ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ให้บริการความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศ ค้นหา พิสูจน์ ความลี้ลับของจักรวาลด้วยเครื่องฉายดาวและสื่อนิทรรศการดาราศาสตร์ “ชีวิตกับดวงดาว” โดยรอบโดม
    1. โลกดาราศาสตร์
    2. ชีวิตสัมพันธ์กับดวงดาว
    3. โลก:แหล่งกำเนิดชีวิตในระบบสุริยะ
    4. ชีวิตดาวฤกษ์
    5. ความเป็นไปในเอกภพ
    6. มนุษย์กับการสำรวจอวกาศ  

รอบการจัดแสดงในห้องฉายดาว 
อังคาร-วันศุกร์ รอบนักเรียน เวลา 10.00 น., 13.30 น.
                    รอบประชาชน เวลา 11.00 น., 14.30 น.
เสาร์-อาทิตย์   4 รอบ เวลา 10.00 น., 11.00 น., 13.30 น., 14.30 น.

การนำไปใช้ในการเรียนการสอน

ระดับชั้นที่นำไปใช้        มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
นำไปสอนในรายวิชา     วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์

ข้อเสนอแนะ

ควรเปิดรอบการจัดแสดงในห้องฉายดาวให้มากกว่านี้